วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติการปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยา




ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

เขตการปกครองแบบ เมืองราชธานี (หัวเมืองชั้นใน) คือเมืองที่ตั้งนครหลวงอันได้แก่กรุงสุโขทัยมีตัวเมืองชั้นในรายรอบเป็นปริมณฑลเรียกว่า เมืองลูกหลวงซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านล้อมรอบราชธานีไว้ทั้ง4ด้านระยะทางระหว่างเมืองลูกหลวงกับราชธานี นั้นมีหลักว่าจะต้องไม่เกินระยะที่จะเดินติดต่อถึงกันได้ภายในเวลา 2 วันทั้งนี้เพื่อให้การคมนาคมระหว่างเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงได้เป็นไปโดยสะดวกด้วยเหตุนี้วงเขตของราชธานีจึงไม่สู้กว้างใหญ่นักแต่การจัดระเบียบราชธานี ดังว่านี้มีประโยชน์มากในทางยุทธศาสตร์สมัยนั้น เพราะทำให้รวมกำลังป้องกันราชธานีได้สะดวกและรวดเร็วเวลามีสงครามกำลังทั้งราชธานีและเมืองที่รายรอบก็รวมกันเป็นกองทัพหลวง

เมืองที่อยู่ในวงราชธานีสมัยกรุงสุโขทัย ถ้าระบุเมืองในครั้งนั้น ก็คือ

ก. เมืองสุโขทัย เป็นตัวราชธานี

ข. หัวเมืองชั้นในรอบเมืองสุโขทัยทั้ง 4 ด้าน คือ


ด้านเหนือ มีเมืองศรีสัชชนาลัย(สวรรคโลก)เป็นเมืองที่พระมหาอุปราชหรือเรียกง่ายๆว่าเมืองอุปราชซึ่งมีอยู่เมืองเดียวในสมัยกรุงสุโขทัยและชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นระยะที่ขุนบาลเมืองเป็นพระมหากษัตริย์ และแต่งตั้งพระอนุชาสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราช เป็นอุปราชไปครองเมืองศรีสัชชนาลัยมีฐานะสูงเกือบเท่าราชธานี
ด้านตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
ด้านใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
ด้านตะวันตก เมืองกำแพงเพชร


เขตการปกครองแบบ เมืองพระยามหานคร (หัวเมืองชั้นนอก)
คือ เมืองใหญ่ ๆ นอกราชธานีออกไปเรียกว่า เมืองพระยามหานคร เป็นหัวเมืองชั้นนอก เมืองหนึ่งๆมีเมืองเล็กๆขึ้นอยู่มากบ้างน้อยบ้างทำนองเดียวกับมณฑลในสมัยต่อมาซึ่งมีเมืองรวมอยู่ หลายเมืองเจ้าเมืองเป็นเจ้าหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เวลาเกิดศึกสงครามราษฎรในเมืองพระยามหานคร เมืองหนึ่งๆ ก็รวมกันเข้าเป็นกองพลหนึ่ง เมืองพระยามหานครสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ครั้งสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช มีดังนี้
ทิศใต้ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์
เมืองตะนาวศรี
ทิศเหนือ เมืองแพร่
ทิศตะวันออก เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพเมืองในราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นราชธานีและเมืองพระยามหานครโดยมีคนไทยเป็นเจ้าเมืองปกครองทั้งสิ้น


เขตการปกครองแบบ เมืองประเทศราชคือ เมืองที่อยู่นอกราชอาณาจักร อันชาวเมืองเป็นชนต่างชาติมีเจ้าเป็นชาวพื้นเมืองนั้นซึ่ง พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งปกครองอย่างสิทธิ์ขาดเหมือนอย่างเจ้าแผ่นดินในเมืองของตนเองแต่ต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการต่อพระมหากษัตริย์ไทยตามกำหนดและเวลาเกิดสงครามก็เกณฑ์กองทัพออกมาช่วยเท่านั้น
เมืองที่เป็นประเทศราชครั้งสมเด็จพระเจ้ารามคำแหงมหาราชสันนิฐานตามประวัติศาสตร์ มีดังนี้

ทางทิศใต้ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทางทิศตะวันตก เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมืองน่าน เมืองเซ่า(คือเมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ

แบบทดสอบการปกครองสมัยอยุธยา


1.สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินหรือที่เรียกทับศัพท์อังกฤษว่า
ก. ปรีวี เคาน์ซิล
ข. เคาน์ซิล ออฟ สเตท
ค. ปีวี เคาน์ซิล
ง. ปรีวี ออฟ สเตท
2. คำว่า"กินเมือง" มีความหมายว่าอย่างไร
ก. เปิดโอกาสให้เจ้าเมืองมีอำนาจมาก
ข. เปิดโอกาสให้ประชาชนมีอำนาจ
ค. พระมหากษัตริย์ทรงมีการงานมาก
ง. เปิดโอกาสให้เจ้าเมืองพบปะคนมาก
3. การรวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล และมีข้าหลวงเทศาภิบาล ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ก. สมุหสุขาภิบาลข. สมุหเทศบาลค. สมุหเทศาภิบาลง. สมุหนายกภิบาล 4.พ.ศ.ใดได้เกิดการจัดตั้งการเลือกตั้ง"ผู้ใหญ่บ้าน"
ก. พ.ศ.2435
ข. พ.ศ.2463
ค. พ.ศ.2426
ง. พ.ศ.2434
5. ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทรงเป็นอะไรกับประชาชน
ก. กษัตริย์
ข. ผู้ปกครอง
ค. พ่อ
ง. เจ้าชีวิต
6. การปกครองสมัยสุโขทัยเป็นการปกครองแบบใด
ก. สมบูรณาญาสิทธิราช
ข. พ่อปกครองลูก
ค. จตุสดมภ์
ง. ไม่มีข้อถูก
7. "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว"แสดงว่ากรุงสุโขทัยเป็นอย่างไร
ก. มีความอุดมสมบูรณ์
ข. มีความเป็นอยู่ดี
ค. มีความสุขในการดำรงชีวิต
ง. ถูกทุกข้อ
8. ประเทศใดที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ
ก. เขมร
ข. มลายู
ค. พม่า
ง. ถูกทุกข้อ
9.สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพคือใคร
ก. กษิตริย์
ข. บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย
ค. บิดาของโลก
ง. ไม่มีข้อถูก
10. "ไพร่ฟ้าหน้าใส"มีความหมายว่า
1. ประชาชน หน้าตาสวย
2. ประชาชนหน้าตามีความสุข
3. ประชาชนหน้าตาอิ่มเอม
4. ประชาชนห้าตาไม่มีสิว
ก. ข้อ 1 และ 2
ข. ข้อ 2 และ 3
ค. ข้อ 3 และ4
ง. ข้อ 1 และ 3