วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

บุคคลสำคัญ



กัปตันเหล็ก (ฟรานซิส ไลท์)

กัปตันเหล็ก เป็นพ่อค้าชาวอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทในกิจการค้าขายในแถบหัวเมือง มลายู ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำความดีความชอบ โดยการจัดหาอาวุธปืนมาถวายแก่พระมหากษัตริย์ไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็น "พระยาราชกปิตัน" บางครั้งจึงเรียกเป็นพระยาราชกปิตันเหล็ก
กัปตันเหล็ก หรือ ฟรานซิส ไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2283 ที่เมืองคัลลิงตัน ในซัฟฟอร์ค เคยเป็นนายทหารเรือแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่ภายหลังหันมาทำการค้าขาย ได้มาตั้งบ้านเรือน ทำการค้าขายอยู่ที่เกาะถลาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2314 รู้จักสนิทสนมกับพระยาถลางภักดีภูธร และคุณหญิงจันทร์ ทั้งยังเป็นที่รู้จักนับถือของชาวเมืองทั่วไปด้วย ในปีถัดมาก็ได้สมรสกับ มาร์ติน่า โรเซลล์ สตรีเชื้อสายโปรตุเกสไทยและมาเลย์ มีบุตร 5 คน ชื่อ ซาร่าห์ วิลเลียม แมรี่ แอน และฟรานซิส
ในปี พ.ศ. 2319 กัปตันเหล็กได้ส่งปืนนกสับ เข้ามาถวายสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และภายหลังได้เป็นผู้ติดต่อซื้ออาวุธ ให้แก่ทางราชการ พร้อมๆ กับทำหน้าที่เป็นกำลังสำคัญให้อังกฤษ ได้เจรจากับสุลต่านแห่งไทรบุรี ขอเช่าเกาะปีนังเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2329 จึงได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลอังกฤษ ให้เป็นผู้ว่าราชการเกาะปีนัง และตั้งชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า เกาะปริ้นซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales Islands) กัปตันเหล็กได้ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2337






พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)

พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หรือ พจน์ พหลโยธินนายกรัฐมนตรีคนที่ 2
....ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ... เป็นสุภาษิตที่เหมาะแก่การทหาร ข้าพเจ้าจึงเลือกไว้เป็นบทประจำดวงตรา พหลโยธิน (พจน์ พหลโยธิน )

ประวัติ

พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง พหลพลพยุหเสนา

เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมาเมื่ออายุ 16 ปี ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมันนี ศึกษาอยู่ 3 ปีต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455 ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์กเรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ

พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ. 2460 ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับในราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธสรสิทธิ์" และได้เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2471

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2471มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎรทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2476 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศ ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 พระยาพหลพลพยุหเสนาได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสน

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 : 21 มิถุนายน 2476 -16 ธันวาคม 2476

สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 : 16 ธันวาคม 2476 - 22 กันยายน 2477

สมัยที่ 3 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 : 22 กันยายน 2477 - 28 กรกฎาคม 2480

สมัยที่ 4 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 : 9 สิงหาคม 2480 - 21 ธันวาคม 2480

สมัยที่ 5 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 8 : 21 ธันวาคม 2480 - 11 กันยายน 2481


อนุสรณ์แห่งความดี

  • ถนนพหลโยธิน หรือทางหลาวแผ่นดินหมายเลข ๑ เป็นถนนเชื่อมภาคเหนือ จากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดทุมธานี อยุธยา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ กำแพงเพชร ตาก ลำปาง เชียงราย ระยะทางยาวประมาณ ๑.๐๐๕ กม.
  • โรงงานน้ำตาลไทยลำปางเป็นโรงงานน้ำตาลสมัยใหม่ โรงงานแรงของประเทศไทย ได้ริเริ่มจัดตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สมัยรัฐบาลคณะ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี
  • เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๙๕ พระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อค่ายของ ศูนย์การทหารปืนใหญ่นี้ว่า ค่ายพหลโยธิน เพื่อเป็นเกียรติแก่ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อดีตนายทหารปืนใหญ่ อดีตนายกรัฐมนตรี
  • ท่านได้ริเริ่มจัดตั้งโรงงานกระดาษไทยขึ้นในจังหวัดกาญจนบุรี นับว่าเป็นโรงงานกระดาษแห่งแรกในประเทศไทย ปัจจุบันได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ท่านในชุดเดินป่าไว้หน้าโรงงาน
  • เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ พล.ต. สาธร กาญจนรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ และทหารปืนใหญ่ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นสมควรที่จะมีสิ่งอนุสรณ์ คือ อนุสาวรีย์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ขึ้นไว้ในสถานที่อันสมควรในบริเวณค่ายพหลโยธิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทอดทูนเกียรติประวัติอันดีงามของท่านเพื่อเป็นอนุสรณ์ความดีของท่านที่มีต่อประเทศชาติและจังหวัดกาญจนบุรี เป็นจังหวัดที่ท่านถือเสมือนภูมิลำเนาท่าน กระทรวงมหาดไทย โดยมติคณะรัฐมนตรีจึ่งสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเรี่ยไรเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๔๙๓ เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาล และอนุสาวรีย์ของ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ไว้เป็นอนุสรณ์ขึ้นที่จังหวัดกาญจนบุรีโดยใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุ ได้ 60





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น